Last updated: 28 ก.พ. 2560 | 16881 จำนวนผู้เข้าชม |
"สวัสดีค่ะ"
กลับมาพบกันอีกเช่นเคยน่ะค่ะ สำหรับในเดือนสิงหาคมนี้เราก็มีข่าสารและมีโปรโมชั่นดีๆ มานำเสนอให้ทุกท่านได้อ่านกัน ก่อนอื่นเราต้องขอนำเสนอวันสำคัญของไทยเราก่อน นั่นก็คือ "วันแม่แห่งชาติ" ซึ่งตรงกับ วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งตามประเพณีของคนไทยจะใช้ดอกมะลิไปไหว้แม่เพื่อแสดงถึงความกตัญญูกัน ซึ่งเราจะขอกล่าวประวัติความเป็นมาของวันสำคัญนี้ให้ได้อ่านกันค่ะ |
วันแม่จัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ สวนอัมพร แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลก งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรและมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีก เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู็สนับสนุน |
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ |
ด้วยเหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก คนไทยถือเป็นดอกไม้มงคล นิยมเอาดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยเพื่อบูชาพระ และดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลายมะลิ นอกจากนี้ มะลิดอกแห้งก็ยังสามารถใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี |
|||||
" งานบริการอบรมการใช้รอกและเครนไฟฟ้า " ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ.2554 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น ให้มีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้นายจ้างจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรม พร้อมรายชื่อวิทยากรเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา |
ข้อ ๑๑ หลักสูตรการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๐ ในการฝึกอบรมความรู้พื้นฐานภาคทฤษฎี มีกำหนดระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชาที่อบรม ดังนี้ (๑) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.๒๕๕๒ (๒) มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย (๓) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั้นจั่น และชนิดของปั้นจั่น (๔) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง โซ่ และอุปกรณ์ยก (๕) บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น (๖) ความปลอดภัยในการทำงาน สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น ข้อ ๑๒ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น ต้องประกอบด้วย (๑) ภาคทฤษฎี มีระยะเวลาการอบรมำม่น้อยกว่า ๙ ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชาที่อบรม ดังนี้ |
|
||||
(๑.๑) ความรู้พื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ ๑๑ (๑.๒) ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น (๑.๓) ระบบสัญญาณเตือน และ Limit switch (๑.๔) การใช้สัญญาณมือ (๑.๕) วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย (๑.๖) การประเมินน้ำหนักสิ่งของ (๑.๗) การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา (๒) การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย ข้อ ๑๔ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ต้องประกอบด้วย (๑) ภาคทฤษฎี มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๙ ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชาที่อบรม ดังนี้ (๑.๑) ความรู้พื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ ๑๑ (๑.๒) การใช้สัญญาณมือ (๑.๓) การเลือกใช้ และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก (๑.๔) วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย (๑.๕) การประเมินน้ำหนักสิ้งของ |
|||||
(๒) การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการทดสอบเกี่ยวกับการให้สัญญาณ การผูก มัด การยึดเกาะวัสดุอย่างถูกต้องและปลอดภัย ข้อ ๑๕ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ต้องประกอบด้วย (๑) ภาคทฤษฎี มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๙ ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชาที่อบรม ดังนี้ (๑.๑) ความรู้พื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ ๑๑ (๑.๒) การใช้สัญญาณมือ (๑.๓) วิธีผูก มัดและการยกเคลื่อนย้าย (๑.๔) การประเมินน้ำหนักสิ่งของ (๒) การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการทดสอบเกี่ยวกับการวางแผนการยกอย่างปลอดภัยและพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทำการยกโดยกำหนดลักษณะรูปร่าง วัสดุของสิ่งของที่จะยก ข้อ ๑๖ หลักสูตรการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง ดังต่อไปนี้ (๑) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐษนในการบริการและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๕๒ (๒) กิจกรรมกลุ่มกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่นและความสูญเสียรวมทั้งนำผลการสอบสวนอุบัติเหตุมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนป้องกัน (๓) ความปลอดภัยในการใช้งานปั้นจั่น กรณีที่นำปั้นจั่นชนิดหรือประเภทที่แตกต่างจากเดิมมาใช้งาน |
บริษัทไทแทนเซอร์วิส เราได้ให้บริการงานด้านอบรมผู้ใช้ปั้นจั่น(เครน) ปั้นจั่นชนิดเหนือศีรษะ ,ปั้นจั่นขาสูงและปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ อบรมตามหลักสูตรที่กฏหมายกำหนด โดยมีวิทยากรที่มีมากประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น และผ่านการอบรมเทคนิคการเป็นวิทยากรปั้นจั่น มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ผ่านอบรมจะได้รับใบวุฒิบัตรผ่านการอบรมทุกคนเมื่อผ่านเกณฑ์การอบรม หลักสูตรที่เปิดรับอบรม - หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น - หลักสูตรการฝึกอบรม ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ - หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น |
6 ก.ย. 2557